แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2564
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับการป้องกัน บำบัด และฟื้นฟู
กลยุทธ์ที่ 2.1 การป้องกัน ลด และขจัดมลพิษ
เป้าหมาย
สิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการที่ดีอย่างมีคุณภาพทั้งการป้องกัน บำบัด ฟื้นฟู และการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่รุ่นต่อไป
ตัวชี้วัด
1 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 80
2 คุณภาพอากาศมีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 99
3 ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 โดยมีอัตราการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ (Recycle) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ
4 ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการรวบรวมและส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
5 จำนวนพื้นที่สีเขียวในเมือง ไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน
6 มาตรฐานคุณภาพของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมได้รับการพัฒนา
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
2.1.1.1 ผลักดันให้นำเครื่องมือและกลไกทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลทางปฏิบัติในการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลดการปล่อยมลพิษ ณ แหล่งกำเนิดโดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษ การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อมลพิษสูง การเรียกเก็บเงินค่ามัดจำ - คืนเงินบรรจุภัณฑ์ และส่งเสริมหลักการ ๓Rs (Reduce, Recycle, Reuse) | |
2.1.1.2 เร่งผลักดันการจัดทำกฎระเบียบการจัดการขยะมูลฝอย โดยเฉพาะ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยและอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการขยะแห่งชาติ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และซากผลิตภัณฑ์อื่น พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | |
2.1.1.3 กำหนดให้มีการจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environment Assessment: SEA) สำหรับการพัฒนาโครงการบนพื้นที่ขนาดใหญ่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือมีการพัฒนาหลายโครงการในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบสะสม ก่อนตัดสินใจดำเนินโครงการ โดยร่วมกันกำหนดประเภทของแผนหรือยุทธศาสตร์รายสาขาที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และเพื่อให้มีการจัดวางผังเมืองอย่างเหมาะสม รวมถึงกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและสุขภาพของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม | |
2.1.1.4 พัฒนาการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง ครอบคลุม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งสามารถนำมาจัดทำมาตรการการป้องกันและลดผลกระทบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการพิจารณารายงานที่ถูกต้องและรวดเร็ว สร้างเสริมกลไกการบังคับใช้และติดตามการปฏิบัติงานตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันให้หน่วยงานรับผิดชอบมีการกำกับและติดตามการดำเนินการตามมาตรการอย่างเคร่งครัด รวมถึงสนับสนุนการกระจายอำนาจให้แก่จังหวัดที่มีศักยภาพ (เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และเขตเศรษฐกิจพิเศษ) ในการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามการดำเนินงานตามมาตรการการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม | |
2.1.1.5 พัฒนากองทุน EIA และกองทุน SEA เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินงานด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) โดยให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย | |
2.1.1.6 พัฒนาฐานข้อมูลด้านสารเคมีสำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคการศึกษาหรือการศึกษาวิจัย รวมถึงภาคอื่น อย่างเป็นระบบ และให้มีความเชื่อมโยงกันตั้งแต่กระบวนการผลิต นำเข้า กักเก็บ จำหน่าย ขนย้าย และกำจัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
2.1.2.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักด้านการจัดการน้ำเสียให้แก่ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนให้มีระบบการจัดการน้ำเสีย มีการจัดการน้ำเสียให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด โดยส่งเสริมให้มีการจัดการตามแนวพระราชดำริที่ใช้วิธีการทางธรรมชาติในการบำบัด | |
2.1.2.2 สร้างพลังของประชาชน ด้วยการเปิดเผยข้อมูลออกสู่สาธารณะเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดน้ำเสีย รวมถึงแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีจุดปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อกดดันให้มีการจัดการน้ำเสียเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด | |
2.1.2.3 ผลักดันให้มีการนำเครื่องมือและกลไกทางเศรษฐศาสตร์มาใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลดการปล่อยมลพิษ ณ แหล่งกำเนิด โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษ และการเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย | |
2.1.2.4 ส่งเสริมให้ครัวเรือน ร้านอาหาร และอาคาร มีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก หรือมีการติดตั้งถังดักไขมัน รวมถึงควบคุมอาคารขนาดใหญ่ให้มีการติดตั้งและเดินระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามมาตรฐานที่กำหนด | |
2.1.2.5 สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบรวบรวมน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความจำเป็น และมีระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการ และเร่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอในการเดินและบำรุงรักษาระบบได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดให้มีบุคลากรที่มีความชำนาญหรือร่วมมือกับภาคเอกชน และนักวิชาการให้การสนับสนุนในการเดินและบำรุงรักษาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดอายุการใช้งาน |
1. โครงการก่อสร้างระบบและรวบรวมน้ำเสียในเขตเทศบาลนครอุดรธานี |
2.1.2.6 ควบคุม และกำกับแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่ทราบจุดปล่อยชัดเจนให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด รวมถึงควบคุมการจัดการแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่ไม่มีจุดปล่อยที่ชัดเจน โดยให้คำนึงถึงค่ามลพิษสะสมรวม และมีการศึกษาเปรียบเทียบกับศักยภาพในการรองรับมลพิษของพื้นที่ เพื่อกำหนดมาตรการลดมลพิษ และพัฒนามาตรฐานการปล่อยมลพิษที่เหมาะสม | |
2.1.2.7 ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำเสีย เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับหลักการการสร้างความเป็นหุ้นส่วนของรัฐและเอกชน (Public - Private Partnership) | |
2.1.2.8 ส่งเสริมการผลิตพลังงานจากน้ำเสีย โดยรวบรวมน้ำเสียที่มีความเข้มข้นสูงจากชุมชนที่มีประชากรหนาแน่นและมีพื้นที่จำกัด หรือชุมชนตามเกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ร้านอาหาร และภัตตาคาร รวมทั้งของเสียจากส้วม เพื่อลดการระบายของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และลดการระบายก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ | |
2.1.2.9 ส่งเสริมให้มีการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด มาใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับชนิดหรือประเภทของกิจกรรม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและมีความปลอดภัย |
1. โครงการก่อสร้างระบบนำน้ำทิ้งจากโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อชุมชน |
2.1.2.10 เร่งรัดหาแนวทางการพัฒนากลไกและระบบการติดตาม ตรวจสอบแหล่งกำเนิดน้ำเสีย รวมถึงแหล่งกำเนิดมลพิษทุกประเภท โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมีการรายงานผลที่รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้สามารถจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
2.1.3.1 ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำกับ ควบคุม และรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปลอดการเผาในพื้นที่ชุมชนและเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยขอร่วมมือจากภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน และประชาชน ในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ให้มีการเผา ตลอดจนส่งเสริมให้นำเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรมมาทำปุ๋ยอินทรีย์ |
1. กิจกรรมส่งเสริม รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ฝุ่น PM 2.5 |
2.1.3.2 สนับสนุนการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตยานพาหนะใหม่ให้ได้มาตรฐาน มีอัตราการระบายมลพิษทางอากาศต่ำ ปลอดมลพิษ ใช้เชื้อเพลิงสะอาด และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า รวมทั้งพัฒนาการตรวจสภาพยานพาหนะที่มีการใช้งาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการระบายมลพิษอย่างเคร่งครัด ตลอดจนส่งเสริมให้ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |
2.1.3.3 ดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมประจำปีรถยนต์ที่ใช้อัตราการปล่อยมลพิษปลายท่อเป็นฐานการคำนวณค่าธรรมเนียม | |
2.1.3.4 ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย และค่ามาตรฐานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และสภาพปัญหาคุณภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่วิกฤตด้านคุณภาพอากาศ และหมอกควัน รวมถึงบังคับใช้กฎหมายการควบคุมคุณภาพอากาศจากแหล่งกำเนิดของยานพาหนะและสถานประกอบการให้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างเข้มงวด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งส่งเสริมมาตรการห้ามมิให้มีการเผาในพื้นที่ชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศที่จะเกิดขึ้น | |
2.1.3.5 จัดทำ พัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลมลพิษจากยานพาหนะด้านคุณภาพอากาศและเสียงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการบูรณาการร่วมกันในการติดตาม ตรวจสอบ และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำหรับยานพาหนะ และบริเวณพื้นที่ที่มีปัญหา |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
2.1.4.1 ปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกให้แก่นักเรียน นักศึกษาในโรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับ โดยเพิ่มกิจกรรม การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการจัดการขยะ รวมทั้งพัฒนาครู อาจารย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการถ่ายทอดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ ครอบครัว และชุมชน |
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดำเนินกิจกรรมคัดแยกขยะต้นทาง 2. โครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง |
2.1.4.2 สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้แก่ประชาชน และชุมชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนให้มีระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบรวมศูนย์ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ร่วมนำขยะมูลฝอยหรือของเสียไปกำจัดในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่รับกำจัด ได้เข้าใจถึงหลักการบริหารจัดการ วิธีการหรือมาตรการทางเลือกที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะนำมาใช้ โดยเฉพาะการจัดเก็บค่าธรรมเนียม และระบบการคัดแยกขยะ อย่างต่อเนื่อง |
1. โครงการประสานความร่วมมือในการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนการจัดการขยะมูลฝอยของเสียอันตรายในพื้นที่จังหวัด 2. โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครอุดรธานี 3. โครงการประสานความร่วมมือในการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในพื้นที่จังหวัด |
2.1.4.3 ส่งเสริมให้ความรู้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการเผา เป็นขยะที่ทำให้ได้รับพลังงานสูง และเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการที่รับภาระในการเผาขยะ | |
2.1.4.4 ส่งเสริมการลดปริมาณขยะจากต้นทาง โดยให้งดหรือเลิกการใช้กล่องโฟม ถุงพลาสติก หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก และขยายผลพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จในการจัดการขยะที่เป็นระบบ ไปยังพื้นที่อื่นที่มีความพร้อม ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ |
1. โครงการอบรมให้ความรู้ด้านการลดขยะต้นทางและการคัดแยกขยะในครัวเรือนแก่แกนนำองค์กรชุมชน 2. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทางชุดที่ 3 3. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ชุดที่ 3 4. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง จังหวัดนครราชสีมา ชุดที่ ๓ |
2.1.4.5 สนับสนุนและส่งเสริมการลดขยะอาหาร (Food Waste) อย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (Public - Private Partnership) โดยเฉพาะในเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยว โดยกำหนดมาตรการลดขยะอาหารตลอดวงจรตั้งแต่การผลิต การกระจายสินค้า การขนส่ง การแปรรูปในอุตสาหกรรมการเกษตร ธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหาร การบริโภคในครัวเรือน และการกำจัด | |
2.1.4.6 กำหนดมาตรการการจัดการขยะทะเล โดยควบคุมการทำกิจกรรมบริเวณชายฝั่ง เช่น การทำประมง การท่องเที่ยว การเดินเรือ และการขนถ่ายสินค้ากลางทะเล ไม่ให้มีการทิ้งขยะมูลฝอยลงในทะเล รวมทั้งควบคุมปริมาณขยะมูลฝอยจากแผ่นดินที่มาตามแม่น้ำ ลำคลอง โดยออกกฎระเบียบ สร้างระบบการจัดเก็บ และรวบรวมขยะ เพื่อนำมาจัดการอย่างถูกต้อง รวมทั้งสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการลดปริมาณขยะทะเลที่ต้นทาง | |
2.1.4.7 พัฒนากลไกทางภาษี เพื่อควบคุมให้ลดการใช้กล่องโฟม ถุงพลาสติก และวัสดุที่ย่อยสลายได้ยากลง รวมทั้งพัฒนาพลาสติกชีวภาพ และวัสดุอื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำพลาสติกชีวภาพกลับมาใช้อย่างคุ้มค่า | |
2.1.4.8 ส่งเสริมการลงทุนแก่ภาคเอกชนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มีการผลิตสินค้าจากพลาสติกชีวภาพ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้พลาสติกชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการลดการใช้พลาสติกจากปิโตรเคมี โดยปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและนโยบายในการสนับสนุนมาตรการทางภาษี รวมทั้งให้มีการลดหย่อนภาษีแก่ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าจากพลาสติกชีวภาพ เพื่อสร้างแรงจูงใจ | |
2.1.4.9 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนให้มีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้มีการนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด และเร่งกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดในพื้นที่วิกฤติ รวมทั้งผลักดันกฎหมายการลดและนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ |
1. โครงการส่งเสริมการจัดการขยะต้นทางเพื่อเมืองสะอาด 2. โครงการประสานความร่วมมือในการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 |
2.1.4.10 สนับสนุนร้านรับซื้อของเก่า และมีการคัดแยกขยะซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โดยมีสถานที่จัดเก็บที่ได้มาตรฐาน มีการขนส่งที่ปลอดภัย และประกอบกิจการที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสุขอนามัยของคนงาน สิ่งแวดล้อม หรือชุมชนข้างเคียง และได้รับการตรวจสอบและติดตามโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ | |
2.1.4.11 ให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้า สนับสนุนผู้ประกอบการที่มีการคัดแยกซากผลิตภัณฑ์ ซากบรรจุภัณฑ์ และของเสียอันตรายชุมชนให้มีการจัดการที่ถูกวิธี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของผู้คัดแยก และไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า | |
2.1.4.12 เพิ่มความรับผิดชอบให้แก่ผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility) ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตผลิตภัณฑ์ การรวบรวมซากผลิตภัณฑ์ การจัดสถานที่จัดเก็บ การขนส่ง จนถึงการจัดการอย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ | |
2.1.4.13 ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีหลากหลายประเภท และมีการจัดการที่สลับซับซ้อนแตกต่างกัน ให้ถูกวิธีการและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งและดำเนินงาน | |
2.1.4.14 พัฒนาและปรับปรุงให้มีระบบการจัดการของเสียอันตรายชุมชน และมีการออกมาตรการป้องกันและควบคุมสินค้าที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุการใช้งานสั้นและเกิดมลพิษ เข้ามาจำหน่ายและใช้งานภายในประเทศ โดยส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เพื่อการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ผลิตมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการที่ถูกวิธี เพื่อให้เกิดการจัดการที่ยั่งยืน รวมทั้งผลักดันให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการของเสียอันตรายชุมชนจากประเทศผู้ผลิต | |
2.1.4.15 พัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน และของเสียอันตรายที่เหมาะสม และก่อให้เกิดความคุ้มค่า โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนและดำเนินงานแปลงขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า และให้มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ส่วนขยะที่ไม่สามารถกำจัดได้ ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาวิธีการและเทคโนโลยีการจัดการที่เหมาะสม | |
2.1.4.16 เพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยสนับสนุนให้มีระบบการจัดการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ และศักยภาพในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมถุงขยะ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการลดการทิ้งขยะ และเพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอในการเดินและบำรุงรักษาระบบได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดให้มีบุคลากรที่มีความชำนาญหรือร่วมมือกับภาคเอกชน และนักวิชาการให้การสนับสนุนในการเดินและบำรุงรักษาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดอายุการใช้งาน | |
2.1.4.17 ติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อมิให้มีการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายและสารอันตราย กากอุตสาหกรรม และขยะติดเชื้อในสิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเล และป้องกันการลักลอบนำเข้าสารอันตรายมาใช้ในกิจการที่ผิดวัตถุประสงค์ การรั่วไหล และการเกิดอุบัติภัยจากสารเคมี พร้อมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับอันตรายจากสารเคมี โดยพัฒนาระบบการติดฉลาก ระบบติดตามข้อมูลด้านสารอันตรายให้แก่ผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้บริโภคที่เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงสร้างเครือข่ายประชาชนในการเฝ้าระวังในพื้นที่ | |
2.1.4.18 ติดตาม และตรวจสอบการให้บริการการจัดการของเสียอันตรายและสารอันตราย กากอุตสาหกรรมและขยะติดเชื้อในสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐานและมาตรการที่กำหนดอย่างเคร่งครัด | |
2.1.4.19 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับขยะที่คัดแยกและไม่สามารถกำจัดได้ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขยะอันตราย และสารอันตราย เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อย่างคุ้มค่า หรือให้มีการจัดการอย่างถูกหลักวิชาการ รวมถึงวิจัยและพัฒนาวัสดุทดแทนกล่องโฟม และถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก โดยเฉพาะการนำพลาสติกชีวภาพมาใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งอย่างคุ้มค่า และมีการจัดการอย่างเหมาะสม |